
1.ภูมิศาสตร์และประชากร
เวนิส (Venice) หรือ เวเนเซีย (Venezia) เป็นเมืองหลวงของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลอาเดรียตริก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges), และ เมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light)
เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็ก ๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอาเดรียตริก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำพลาวิ มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในเทอร์ราเฟอร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่นๆ ในทะเลสาบ
2.ประวัติศาสตร์
เมืองเวนิสเดิมเป็นชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณลากูนที่รวมตัวเข้าด้วยกันเพื่อต่อต้านอันตรายจากชนลอมบาร์ด, ชนฮั่น และกลุ่มชนอื่นที่เริ่มเข้ามารุกรานหลังจากอำนาจของจักรวรรดิโรมันตะวันตกเริ่มลดถอยลงในบริเวณทางตอนเหนือของอิตาลี ในเวลาระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ชุมชนในบริเวณลากูนก็เลือกตั้งผู้นำคนแรกออร์โซ อิพาโต (Orso Ipato) ที่ได้รับการอนุมัติจากไบแซนเทียมและได้รับตำแหน่ง “Hypatos” ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้ในจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่เทียบเท่ากับ “กงสุล” และ “Dux” ที่ต่อมาแผลงมาเป็น “ดยุค” ออร์โซ อิพาโตเป็นบุคคลแรกที่ได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นดยุคแห่งเวนิส (Doge of Venice) คนแรก แต่ในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 11 กล่าวว่าชาวเวนิสประกาศให้เพาโล ลูชิโอ อนาเฟสโต (Paolo Lucio Anafesto) เป็นดยุคในปี ค.ศ. 697 แต่หลักฐานนี้ก็เป็นเพียงบันทึกของจอห์นผู้เป็นดีคอนของเวนิส แต่จะอย่างไรก็ตามดยุคแห่งเวนิสก็มีอำนาจอยู่ที่เอราเคลีย

3.การคมนาคม
เวนิชเป็นเมืองที่มีการใช้คลองในการคมนาคมมากที่สุด มีอาคาร ร้าน บ้านเมืองตั้งริมคลอง มีเรือบริการในการเดินทางไปในที่ต่างๆของเมืองมีการบริการท่องเที่ยวชมทิวทัศน์ธรรมชาติของ 2 ฝั่งคลองโดยทางเรือ นับเป็นเมืองที่คลองมากกว่าถนนอีกเมืองหนึ่งของโลก พาหนะหลักของเมืองเวนิสคือเรือ "กอนโดร่า" ซึ่งเป็นเรือขนาดเล็กสำหรับส่งผู้โดยสารและสิ่งของ เรือกอนโดร่ายังเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเมืองเวนิสอีกด้วย
4.สถานที่ท่องเที่ยว

วังดูคาเล (Palazzo Ducale)
วังดูคาเลเป็นที่พักของผู้ปกครองเวนิส ซึ่งเรียกว่า Doge ถูกก่อสร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 แต่ได้รับการตกแต่งและก่อสร้างเพิ่มเติมหลายครั้ง รูปโฉมด้านนอกในปัจจุบันเป็นผลงานจากศตวรรษที่ 19 เป็นศิลปะแบบโกธิค ได้รับการตกแต่งด้วยหินอ่อนสีชมพูจากเมืองเวโรน่า ภายในตกแต่งด้วยศิลปะหลายยุคสมัย แบ่งเป็นห้องต่างๆ มากมาย ประดับไว้ด้วยภาพวาดโดยศิลปินเวนิสหลายราย นอกจากนี้ยังมีห้องทรมานนักโทษ และทางออกไปยังสะพานแห่งการทอดถอนใจซึ่งเชื่อมไปยังคุก ว่ากันว่านักรักคาสโนว่าเคยถูกกักขังไว้ที่นี่ และสามารถหลบหนี ออกมาได้ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00 - 19.00 น. (ในช่วงฤดูร้อน) และ 9.00 - 17.00 น. (ในช่วงฤดูหนาว) ค่าเข้าชมคนละ 6.50 ยูโร

โบสถ์ซานมาร์โค (Basilica di San Marco)
โบสถ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของเวนิสแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่นักบุญมาร์ค ผู้ซึ่งเป็นที่นับถือในเวนิส ในฐานะนักบุญผู้เผยแผ่ศาสนาที่อิยิปต์ และถูกประหารชีวิต ก่อนที่ชาวเวนิสจะไปนำศพกลับมาเก็บไว้ที่โบสถ์ ซานมาร์โคแห่งนี้ จุดเด่นของโบสถ์ที่ซานมาร์โคอยู่ที่การมีโดมถึง 5 โดม ได้รับการตกแต่งด้วยศิลปะที่แตกต่างกัน ทางด้านหน้าได้รับการประดับด้วยรูปปั้นของนักบุญมาร์ค และรูปปั้นม้าบรอนซ์ 4 ตัว ซึ่งว่ากันว่าขโมยมาจากกรุงคอนสแตนติโนเปิล ส่วนภายในโบสถ์เป็นที่เก็บรักษาศพของนักบุญมาร์ค จุดที่น่าสนใจอยู่ที่เพดาน กำแพง และพื้นซึ่งตกแต่งด้วยกระเบื้องโมเสกสีทอง ครอบคลุมระยะกว่า 4,000 ตารางเมตร เป็นเรื่องราวการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ของนักบุญมาร์คและเรื่องราวในพระคัมภีร์ นอกจากนี้ภายในโบสถ์ยังมีพิพิธภัณฑ์ อยู่ด้วย ซึ่งจัดแสดงม้าบรอนซ์ กระเบื้องโมเสค บันทึกเรื่องราวต่างๆ สมัยยุคกลาง รวมทั้งวัตถุโบราณอื่นๆ มากมาย เปิดให้เข้าชมวันจันทร์ถึงเสาร์ เวลา 9.45 - 17.00น. ส่วนวันอาทิตย์ เปิดให้เข้าชมเวลา 14.00 - 17.00น.ไม่เสียค่าเข้าชมถ้าเข้าเฉพาะโบสถ์ แต่ถ้าเข้าพิพิธภัณฑ์ในนั้นจะเสียค่าเข้าแตกต่างกันไป
จัตุรัสซานมาร์โค (Piazza San Marco)
ได้ชื่อว่าเป็นจัตุรัสที่ขึ้นชื่อว่าสวยที่สุดแห่งหนึ่งในอิตาลี ในบริเวณจัตุรัสจะมีร้านค้าและร้านอาหารไว้คอยบริการมากมาย รอบๆ จัตุรัสมีอาคารที่สำคัญสองแห่งคือ หอระฆัง และหอนาฬิกา - หอระฆัง (Campanile) เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในเวนิส นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปข้างบนเพื่อชมวิวของเมืองและลำน้ำได้ หอระฆังแห่งนี้เป็นที่ที่กาลิเลโอเคยทำการสาธิตกล้องส่องทางไกลของเขา เดิมทีหอนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ช่วยเหลือนักเดินเรือในตอนกลางคืน แต่ในยุคกลางกลับถูกใช้เป็นที่คุมขังนักโทษ อย่างไรก็ตาม หอระฆังแห่งนี้เคยพังทลายลงในปี ค.ศ. 1902 และได้รับการก่อสร้างขึ้นใหม่ โดยเสร็จสมบูรณ์ในปี 1912 เปิดให้ขึ้นไปชมวิวเมืองได้ทุกวัน โดยเวลาที่เปิดจะแตกต่างกันไปในแต่ละฤดู โดยในฤดูร้อนเปิดตั้งแต่เวลา 9.00 - 19.00 น. ค่าเข้าชมคนละ 5.20 ยูโร
- หอนาฬิกา (Torre dell’ Orologio) ได้รับการสร้างในช่วงปลายศตวรรษที่ 15 หน้าปัดนาฬิกาเป็น
สีน้ำเงิน แสดงการหมุนเวียนของพระจันทร์ และจักรราศีต่างๆ มีเรื่องเล่าว่าช่างที่ออกแบบนาฬิกานี้ถูกทำให้ตาบอดหลังจากเสร็จงาน เพื่อมิให้ไปทำนาฬิกาแบบนี้ขึ้นอีก สามารถเข้าไปชมในหอนาฬิกาได้ แต่ต้องเข้าไปตามรอบของไกด์ทัวร์ ซึ่งจะมีเวลาแตกต่างกันไปในแต่ละวัน ใช้เวลาเข้าชมประมาณ 50 นาทีต่อหนึ่งรอบ เสียค่าเข้าชมคนละ 17 ยูโร

สะพานซิงห์ (Bridge of Sighs, Ponte dei Sospiri)
สะพานซิงห์เป็นสะพานเก่าแก่ที่เชื่อมต่อระหว่างวังดูคาเลกับคุกเก่า เป็นเส้นทางลำเลียงนักโทษเข้าสู่ตัวคุก ออกแบบโดย Antoni Contino ในปี ค.ศ.1602 สร้างมาจากหินปูนสีขาว มีช่องหน้าต่างให้มองออกมาได้ เพื่อให้นักโทษได้ชมความสวยงามของท้องฟ้า และทะเลแห่งเวนิสเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิต โดยชื่อ Lord Byron ได้ตั้งชื่อว่าสะพานซิงห์ (Sigh) ในศตวรรษที่ 19 เนื่องมาจากนักโทษจะได้ถอนหายใจเป็นครั้งสุดท้ายที่สะพานแห่งนี้นั่นเอง

สะพานริอัลโต (Rialto)
สะพานแห่งนี้เดิมทีเป็นสะพานไม้ และสร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 หลังจากที่พังทลายลง สะพานหินก็ถูกสร้างขึ้นทดแทน และเป็นสะพานข้าม Grand Canal เพียงแห่งเดียวจนถึงปี ค.ศ. 1854 จนกลายเป็น
ศูนย์กลางการคมนาคม และค้าขายแลกเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดของเวนิส ใครที่มาเวนิสแล้วไม่ได้มาข้ามสะพานนี้ถือว่ามาไม่ถึง เป็นจุดถ่ายภาพที่สำคัญแห่งหนึ่ง รอบๆ สะพานเป็นย่านขายของที่ระลึกและตลาดขายของสด
5.เทศกาลสวมหน้ากาก (Venice Carnival)
งานเทศกาลในเมืองเวนิสนั้นที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1268 แต่การเฉลิมฉลองโดยมีสวมหน้ากากรวมถึงแต่งองค์ทรงเครื่องกันอย่างอลังการเพิ่งจะมีขึ้นในเกือบสองร้อยปีให้หลัง เมื่อช่างทำหน้ากากหรือ “mascareri” ได้รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1436 สมัยก่อนนั้นชาวเวนิสสวมหน้ากากกันจนเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 18 ถือเป็นยุคที่รุ่งเรืองมากของการสวมหน้ากาก ผู้คนในสาธารณรัฐเวนิสสวมหน้ากากออกจากบ้านถึงปีละ 8 เดือน
แต่หลังจากการยึดครองของกองทัพของนโปเลียนในปี 1797 เมื่อเวนิสกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรลอมบาร์ดี-เวเนเทีย ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปการยึดครองนำมาซึ่งการสั่งห้ามการจัดงานเฉลิมฉลองงานรื่นเริงเป็นเวลาหลายปี ผู้คนไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หน้ากากเปเปอร์มาเช่เพื่อปกปิดหน้าตา และงานเต้นรำสวมหน้ากากก็ถูกห้าม จนกระทั่งทศวรรษที่ 1970 ประเพณีดั้งเดิมดังกล่าวถูกฟื้นขึ้นมาใหม่ เมื่อกลุ่มของอดีตนักศึกษาอคาเดมี ออฟ ไฟน์ อาร์ต ได้เปิดร้านขายหน้ากากสมัยใหม่แห่งแรกของกรุงเวนิสขึ้นในปี 1978
บรรณานุกรม
http://sites.google.com/site/vaniceitaly/-venice-1
ศูนย์กลางการคมนาคม และค้าขายแลกเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดของเวนิส ใครที่มาเวนิสแล้วไม่ได้มาข้ามสะพานนี้ถือว่ามาไม่ถึง เป็นจุดถ่ายภาพที่สำคัญแห่งหนึ่ง รอบๆ สะพานเป็นย่านขายของที่ระลึกและตลาดขายของสด
5.เทศกาลสวมหน้ากาก (Venice Carnival)


บรรณานุกรม
http://sites.google.com/site/vaniceitaly/-venice-1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น